วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558


ชนิดข้อมูลใน MySQL (Datatype)


VARCHAR : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวอักษร ทุกครั้งที่เลือกชนิดของฟิลด์เป็นประเภทนี้ จะต้องมี การกำหนดความยาวของข้อมูลลงไปด้วย ซึ่งสามารถกำหนดค่าได้ตั้งแต่ 1 - 255 ฟิลด์ชนิดนี้ เหมาะ
สำหรับการเก็บข้อมูลสั้นๆ เช่น ชื่อ นามสกุล หรือหัวข้อต่างๆ เป็นต้น... ในส่วนฟิลด์ประเภทนี้ จะ สามารถเลือก "แอตทริบิวต์" เป็น BINARY ได้ โดยปกติแล้วการจัดเรียงข้อมูลเวลาสืบค้น (query) สำหรับ VARCHAR จะเป็นแบบ case-sensitive (ตัวอักษรใหญ่ และเล็กมีความหมายแตกต่างกัน) แต่ หากระบุ "แอตทริบิวต์" เป็น BINARY ปุ๊บ การสืบค้นจะไม่คำนึงตัวอักษรว่าจะเป็นตัวใหญ่ หรือตัวเล็ก

CHAR : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวอักษร แบบที่ถูกจำกัดความกว้างเอาไว้คือ 255 ตัวอักษร ไม่ สามารถปรับเปลี่ยนได้เหมือนกับ VARCHAR หากทำการสืบค้นโดยเรียงตามลำดับ ก็จะเรียงข้อมูล
แบบ case-sensitive เว้นแต่จะกำหนดแอตทริบิวต์เป็น BINARY ที่จะทำให้การเรียงข้อมูลเป็นแบบ non case-sensitive เช่นเดียวกับ VARCHAR

TINYTEXT : ในกรณีที่ข้อความยาวๆ หรือต้องการที่จะค้นหาข้อความ โดยอาศัยฟีเจอร์ FULL TEXT SEARCH ของ MySQL เราอาจจะเลือกที่จะไม่เก็บข้อมูลลงในฟิลด์ประเภท VARCHAR ที่มีข้อจำกัด
แค่ 256 ตัวอักษร แต่เราจะเก็บลงฟิลด์ประเภท TEXT แทน โดย TINYTEXT นี้ จะสามารถเก็บข้อมูล ได้ 256 ตัวอักษร ซึ่งมองเผินๆ ก็ไม่ต่างกับเก็บลงฟิลด์ประเภท CHAR หรือ VARCHAR(255) เลย แต่
จริงๆ มันต่างกันตรงที่ มันทำFULL TEXT SEARCH ได้

TEXT : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวอักษร เช่นเดียวกับ TINYTEXT แต่สามารถเก็บได้มากขึ้น โดย สูงสุดคือ 65,535 ตัวอักษร หรือ 64KB เหมาะสำหรับเก็บข้อมูลพวกเนื้อหาต่างๆ ที่ยาวๆ 

MEDIUMTEXT : เก็บข้อมูลประเภทตัวอักษร เช่นเดียวกับ TINYTEXT แต่เก็บข้อมูลได้ 16,777,215 ตัวอักษร

LONGTEXT : เก็บข้อมูลประเภทตัวอักษร เช่นเดียวกับ TINYTEXT แต่เก็บข้อมูลได้ 4,294,967,295 ตัวอักษร

TINYINT : สำหรับเก็บข้อมูลชนิดตัวเลขที่มีขนาด 8 บิต ข้อมูลประเภทนี้เราสามารถกำหนดเพิ่มเติม ในส่วนของ "แอตทริบิวต์" ได้ว่าจะเลือกเป็น UNSIGNED หรือ UNSIGNED ZEROFILL โดยจะมี ความแตกต่างดังนี้
      - UNSIGNED : จะหมายถึงเก็บค่าตัวเลขแบบไม่มีเครื่องหมาย แบบนี้จะทำใหสามารถเก็บค่าได้ ตั้งแต่ 0 - 255
      - UNSIGNED ZEROFILL : เหมือนข้างต้น แต่ว่าหากข้อมูลที่กรอกเข้ามาไม่ครบตามจำนวน หลักที่เรากำหนด ตัว MySQL จะทำการเติม 0 ให้ครบหลักเอง เช่น ถ้ากำหนดให้ใส่ได้ 3 หลัก แล้วทำการเก็บข้อมูล 25 เข้าไป เวลาที่สืบค้นดู เราจะได้ค่าออกมาเป็น 025 หากไม่เลือก "แอ ตทริบิวต์" สิ่งที่เราจะได้ก็คือ SIGNED นั่นก็คือต้องเสียบิตนึงไปเก็บเครื่องหมาย บวก/ลบ ทำ ให้สามารถเก็บข้อมูลได้อยู่ในช่วง -128 ถึง 127 เท่านั้น

SMALLINT : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวเลขที่มีขนาด 16 บิต จึงสามารถเก็บค่าได้ตั้งแต่ -32768 ถึง 32767 (ในกรณีแบบคิดเครื่องหมาย) หรือ 0 ถึง 65535 (ในกรณี UNSIGNED หรือไม่คิดเครื่องหมาย)
ซึ่งสามารถเลือก Attribute เป็น UNSIGNED และ UNSIGNED ZEROFILL ได้เช่นเดียวกับ TINYINT

MEDIUMINT : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวเลขที่มีขนาด 24 บิต นั่นก็หมายความว่าสามารถเก็บ ข้อมูลตัวเลขได้ตั้งแต่ -8388608 ไปจนถึง 8388607 (ในกรณีแบบคิดเครื่องหมาย) หรือ 0 ถึง 16777215
(ในกรณีที่เป็น UNSIGNED หรือไม่คิดเครื่องหมาย) ซึ่งสามารถเลือก Attribute เป็น UNSIGNED และ UNSIGNED ZEROFILL ได้เช่นเดียวกับ TINYINT

INT : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวเลขที่มีขนาด 32 บิต หรือสามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ -2147483648 ไปจนถึง 2147483647 ครับ (ในกรณีแบบคิดเครื่องหมาย) หรือ 0 ถึง 4294967295 (ในกรณีที่เป็น
UNSIGNED หรือไม่คิดเครื่องหมาย) ซึ่งสามารถเลือก Attribute เป็น UNSIGNED และ UNSIGNED ZEROFILL ได้เช่นเดียวกับ TINYINT 

BIGINT : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวเลขที่มีขนาด 64 บิต สามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ - 9223372036854775808 ไปจนถึง 9223372036854775807 เลยทีเดียว (แบบคิดเครื่องหมาย) หรือ 0 ถึง 18446744073709551615 (ในกรณีที่เป็น UNSIGNED หรือไม่คิดเครื่องหมาย) ซึ่งสามารถเลือก Attribute เป็น UNSIGNED และ UNSIGNED ZEROFILL ได้เช่นเดียวกับ TINYINT 

FLOAT[(M,D)] : ที่กล่าวถึงไปทั้งหมด ในตระกูล INT นั้นจะเป็นเลขจำนวนเต็ม หากเราบันทึกข้อมูล ที่มีเศษทศนิยม มันจะถูกปัดทันที ดังนั้นหากต้องการจะเก็บค่าที่เป็นเลขทศนิยม ต้องเลือกชนิดขอฟิลด์ เป็น FLOAT โดยจะเก็บข้อมูลแบบ 32 บิต คือมีค่าตั้งแต่ -3.402823466E+38 ไปจนถึง -1.175494351E- 38, 0 และ 1.175494351E-38 ถึง 3.402823466E+38

DOUBLE[(M,D)] : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวเลขทศนิยม เช่นเดียวกับ FLOAT แต่มีขนาดเป็น 64 บิต สามารถเก็บได้ตั้งแต่ -1.7976931348623157E+308 ถึง -2.2250738585072014E-308, 0 และ
2.2250738585072014E-308 ถึง 1.7976931348623157E+308

DECIMAL[(M,D)] : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทตัวเลขทศนิยม เช่นเดียวกับ FLOAT แต่ใช้กับข้อมูลที่ ต้องการความละเอียดและถูกต้องของข้อมูลสูง ข้อสังเกต เกี่ยวกับข้อมูลประเภท FLOAT, DOUBLE และ DECIMAL ก็คือ เวลากำหนดความ ยาวของข้อมูลในฟิลด์ จะถูกกำหนดอยู่ในรูปแบบ (M,D) ซึ่งหมายความว่า ต้องมีการระบุว่า จะให้มี ตัวเลขส่วนที่เป็นจำนวนเต็มกี่หลัก และมีเลขทศนิยมกี่หลัก เช่น ถ้าเรากำหนดว่า FLOAT(5,2) จะ หมายความว่า เราจะเก็บข้อมูลเป็นตัวเลขจำนวนเต็ม 5 หลัก และทศนิยม 2 หลัก ดังนั้นหากทำการใส่ ข้อมูล 12345.6789 เข้าไป สิ่งที่จะเข้าไปอยู่ในข้อมูลจริงๆ ก็คือ 12345.68 (ปัดเศษให้มีจำนวนหลัก ตามที่กำหนดไว้)

DATE : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทวันที่ โดยเก็บได้จาก 1 มกราคม ค.ศ. 1000 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 9999 โดยจะแสดงผลในรูปแบบ YYYY-MM-DD

DATETIME : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทวันที่ และเวลา โดยจะเก็บได้ตั้งแต่ 1 มกราคม ค.ศ. 1000 เวลา 00:00:00 ไปจนถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 9999 เวลา 23:59:59 โดยรูปแบบการแสดงผล เวลาที่ทำการสืบค้น
(query) ออกมา จะเป็น YYYY-MM-DD HH:MM:SS 

TIMESTAMP[(M)] : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทวันที่ และเวลาเช่นกัน แต่จะเก็บในรูปแบบของ YYYYMMDDHHMMSS หรือ YMMDDHHMMSS หรือ YYYYMMDD หรือ YYMMDD แล้วแต่ ว่าจะระบุค่า M เป็น 14, 12, 8 หรือ 6 ตามลำดับ สามารถเก็บได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1000 ไป จนถึงประมาณปี ค.ศ. 2037 

TIME : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทเวลา มีค่าได้ตั้งแต่ -838:59:59 ไปจนถึง 838:59:59 โดยจะแสดงผล ออกมาในรูปแบบ HH:MM:SS YEAR[(2/4)] : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทปี ในรูปแบบ YYYY หรือ YY แล้วแต่ว่าจะเลือก 2 หรือ 4 (หากไม่ระบุ จะถือว่าเป็น 4 หลัก) โดยหากเลือกเป็น 4 หลัก จะเก็บค่าได้ตั้งแต่ ค.ศ. 1901 ถึง 2155 แต่ หากเป็น 2 หลัก จะเก็บตั้งแต่ ค.ศ. 1970 ถึง 2069 ข้อสังเกต ค่าที่เก็บในข้อมูลประเภท TIMESTAMP และ YEAR นั้นจะมีความสามารถพอๆ กับ การเก็บข้อมูลวันเดือนปี และเวลา ด้วยฟิลด์ชนิด VARCHAR แต่ต่างกันตรงที่ จะใช้เนื้อที่เก็บข้อมูล น้อยกว่า... ทว่า ฟิลด์ประเภท TIMESTAMP นั้นจะมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาที่สามารถเก็บได้ คือ จะต้องอยู่ในระหว่าง 1 มกราคม ค.ศ. 1000 ไปจนถึงแถวๆ ค.ศ. 2037 อย่างที่บอก แต่หากเก็บเป็น VARCHAR นั้นจะไม่ติดข้อจำกัดนี้ ฟิลด์ชนิด YEAR ก็เช่นกันครับ... ใช้เนื้อที่แค่ 1 ไบต์เท่านั้นในการ เก็บข้อมูล แต่ข้อจำกัดจะอยู่ที่ ปี ค.ศ. 1901 ถึง 2155 เท่านั้น (หรือ ค.ศ. 1970 ถึง 2069 ในกรณี 2 หลัก) แต่หากเก็บเป็น VARCHAR จะได้ตั้งแต่ 0000 ถึง 9999 เลย อันนี้เลยอยู่ที่ความจำเป็นมากกว่าครับ (แต่ ด้วยความที่ว่า ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ราคาถูกมากๆ ผมเลยไม่ติดใจอะไรที่จะใช้ VARCHAR แทน เพื่อ ความสบายใจ อิอิ เพราะสมมติว่ากินเนื้อที่ต่างกัน 3 ไบต์ ต่อ 1 ระเบียน มีข้อมูล 4 ล้านระเบียน ก็เพิ่ง ต่างกัน 12 ล้านไบต์ หรือ 12 เมกะไบต์เท่านั้นเอง ซึ่งหากเทียบกับปริมาณข้อมูลทั้งหมดของข้อมูล 4 ล้านระเบียน ผมว่ามันต้องมีอย่างน้อยเป็นกิกะไบต์ ดังนั้นความแตกต่างที่ไม่กี่เมกะไบต์จึงไม่มากมาย)

TINYBLOB : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทไบนารี ได้แก่ ไฟล์ข้อมูลต่างๆ, ไฟล์รูปภาพ, ไฟล์มัลติมีเดีย เป็นต้น คือไฟล์อะไรก็ตามที่อัพโหลดผ่านฟอร์มอัพโหลดไฟล์ในภาษา HTML โดย TINYBLOB นั้น
จะมีเนื้อที่ให้เก็บข้อมูลได้ 256 ไบต์

BLOB : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทไบนารี เช่นเดียวกับ TINYBLOB แต่สามารถเก็บข้อมูลได้ 64KB

MEDIUMBLOB : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทไบนารี เช่นเดียวกับ TINYBLOB แต่เก็บข้อมูลได้ 16MB

LONGBLOB : สำหรับเก็บข้อมูลประเภทไบนารี เช่นเดียวกับ TINYBLOB แต่เก็บข้อมูลได้ 4GB ข้อสังเกต ข้อมูลประเภท BLOB นั้น แม้จะมีประโยชน์ในเรื่องของการเก็บข้อมูลประเภท BINARY ให้อยู่กับตัวฐานข้อมูล ทำให้สะดวกเวลาสืบค้นก็ตาม แต่มันก็ทำให้ฐานข้อมูลมีขนาดใหญ่ เกินความจำเป็นด้วย ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการสำรองฐานข้อมูลในกรณีที่ มีข้อมูลอัพโหลดไป เก็บมากๆ โดยปกติแล้ว จะใช้วิธีการอัพโหลดไปเก็บไว้ในโฟลเดอร์ แล้วเก็บลิงก์ไปยังไฟล์เหล่านั้น เป็นฟิลด์ชนิด VARCHAR มากกว่า


วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ค่านิยม 12 ประการ

1 มีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

          1.1 เป็นพลเมืองดีของชาติ เช่น ยืนตรงเคารพธงชาติ  ร้องเพลงชาติ
          1.2 ธำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย เช่น เข้าร่วม ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมที่สร้างความสามัคคี ปรองดองที่เป็นประโยชน์ต่อ โรงเรียน ชุมชนและสังคม
        1.3ศรัทธา ยึดมั่น ปฏิบัติตนตามหลักของศาสนา เช่น เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาที่ตนเองนับถือ และปฏิบัติตนตามหลักของศาสนาที่ตนนับถือ
          1.4 เคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น มีส่วนร่วมหรือจัด                                                          กิจกรรมที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ 
 2 มีความซื่อสัตย์สุจริต
        


  2.1 ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อตนเองทั้งทายกาย วาจา ใจ เช่น ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริงปราศจากความลำเอียง  และปฏิบัติตนโดยคำนึงถึงความถูกต้องละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำผิดและปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา

           2.2  ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อผู้อื่นทั้งทายกาย วาจา ใจ เช่น ไม่ถือเอาสิ่งของหรือผลงานของผู้อืนมาเป็นของตนเอง  ปฏิบัติตนต่อผู้อื่นด้วยความซื่อตรงและไม่หาประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้อง


 3 กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
          3.1  ปฏิบัติตามข้อตกลง  กฎเกณฑ์  ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว  โรงเรียน  และสังคม เช่น ปฏิบัติตามข้อตกลง  กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว  โรงเรียน และสังคม ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น  และตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันและรับผิดชอบในการทำงาน


4 ใฝหาความรู้่ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม
          4.1   ตั้งใจเพียรพยายามในการเรียน และเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น ตั้งใจเรียน  เอาใจใส่และมีความเพียรพยายามในการเรียนรู้  และสนใจเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ
          4.2   แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน  ด้วยการเลือกใช้สื่ออย่างเหม่ะสม  บันทึกความรู้ วิเคราะห์สรุปเป็นองค์ความรู้  และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น  ศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือ  เอกสาร  สิ่งพิมพ์  สื่อ  เทคโนโลยีต่างๆ  แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน และเลือกใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม  บันทึกความรู้  วิเคราะห์  ตรวจสอบจากสิ่งที่เรียนรู้  สรุปเป็นองค์ความรู้  และแลกเปลี่ยนความรู้ด้วยวิธีการต่างๆเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน


 5.รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย
        
 5.1 ภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียม ประเพณี  ศิลปะ  วัฒนธรรมไทยและมีความกตัญญูกตเวที เช่น แต่งกายและมีมารยาทงดงามแบบไทย  มีสัมมาคารวะ   กตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ  ร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรมไทย  และชักชวน แนะนำให้ผู้อื่นตามขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรมไทย
          5.2 เห็นคุณค่าและใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เช่น ใช้ภาษาไทยและเลขไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและชักชวน แนะนำให้ผู้อื่นเห็นคุณค่าของการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
          5.3 อนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาไทย เช่น  นำภูมิปัญญาไทยมาใช้ให้เหมาะสมในวิถีชีวิต ร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาไทยและแนะนำ มีส่วนร่วมในการสืบทอดภูมิปัญญาไทย



  6.มีศีลธรรม รักษาความสัตย์
          


7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย



 8. มีระเบียบวินัย รักษากฎหมาย ผู้น้อยรู้จักเคารพผู้ใหญ่


9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ

                9.1  ตั้งใจและรับผิดชอบ มีสติ คิดรอบคอบ ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ในการปฏิบัติหน้าที่การงาน เช่น  เอาใจใส่ต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำงานให้สำเร็จ  และปรับปรุงและพัฒนาการทำงานด้วยตนเอง
              9.2   ทำงานด้วยความเพียรพยายามและอดทนเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย เช่น  ทุ่มเททำงาน  อดทน ไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน พยายามแก้ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานให้สำเร็จ และชื่นชมผลงานด้วยความภาคภูมิใจ


10. รู้จักดำรงตนโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
              10.1  ดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ  มีเหตุผล  รอบคอบ  มีคุณธรรม เช่น ใช้ทรัพย์สินของตนเอง เช่น  เงิน  สิ่งของ เครื่องใช้  ฯลฯ  อย่างประหยัด คุ้มค่า และเก็บรักษาดูแลอย่างดี รวมทั้งการใช้เวลาอย่างเหมาะสม  ใช้ทรัพยากรของส่วนรวมอย่างประหยัด  คุ้มค่า และเก็บรักษาดูแลอย่างดี  ปฏิบัติตนและตัดสินใจด้วยความรอบคอบ มีเหตุผลและไม่เอาเปรียบผู้อื่นและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน  พร้อมให้อภัยเมื่อผู้อื่นกระทำผิด
              10.2 มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เช่น วางแผนการเรียน การทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันบนพื้นฐานของความรู้  ข้อมูล ข่าวสารและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม ยอมรับและปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข


 11. มีความเข้มแข็งทั้งร่ายกายและจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจใฝ่ต่ำ


                                     

   12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

                12.1 ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจและพึงพอใจโดยไม่หวังผลตอบแทน เช่น ช่วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูทำงานด้วยความเต็มใจ  อาสาทำงานให้ผู้อื่นด้วยกำลังกาย กำลังใจ และกำลังสติปัญญาโดยไม่หวังผลตอบแทนและแบ่งปันสิ่งของ  ทรัพย์สิน และอื่นๆและช่วยแก้ปัญหาหรือสร้างความสุขให้กับผู้อื่น
                12.2 เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชนและสังคม เช่น ดูแลรักษาสาธารณสมบัติและสิ่งแวดล้อมด้วยความเต็มใจ  เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชนและสังคม และเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาหรือร่วมสร้างสิ่งที่ดีงามของส่วนรวมตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยความกระตือรือร้น

ขั้นตอนในการถ่ายภาพยนตร์สั้น
ขั้นที่1  หาองค์ประกอบด้านวิธีการ คือ หลักการ การวางแผน การถ่ายทำ
การตัดต่อ การประเมินผล
ขึ้นที่2   หาองค์ประกอบด้านบุคลากร คือ บุคลากรในหน้าที่ต่างๆตั้งแต่ ตัวละคร บุคคลทางเทคนิค รวมไปถึง ผู้มีความสามารถเฉพาะครับ จะดีมากๆ และอีกอย่างคือทีมเวิคครับ
ขั้นที่3   เตรียมการผลิต คือ วางแผน เตรียมสถานที่ บท อุปกรณ์ ให้ครบ
ขั้นที่4    บทหนัง คือ วางบท คำพูด ระยะเวลาสถานที่ เรื่องราว ที่จะสื่อออกมา
เรื่องบทนี้จะมี หลายแบบ
– บทแบบสมบูรณ์  ประมาณว่า เก็บทุกรายละเอียดทุกคำพูดครับ
– บทแบบอย่างย่อ ประมาณว่า เปิดกว้างๆให้ผู้ชมสังเกตในความเข้าใจของตนเอง
– บทแบบเฉพาะ
– บทแบบร่างกำหนด
ขั้นที่5    การผลิต อย่างแรกเลย แต่ละฉากคุณต้องเลือกมุมกล้องให้เหมาะสม กับสภาพอากาศ ขนาดวัตถุ ว่าควรเห็นแค่ไหน  ขนาดมุมกล้องมีหลายแบบนะเยอะมาก ผมพูดรวมๆละกัน มีแบบ ระยะไกลมาก ระยะไกล ระยะปานกลาง ระยะใกล้
ขั้นที่6   ค้นหามุมกล้อง
– มุมคนดู ประมาณว่า เป็นมุมถ่ายจากรอบนอกของฉากนั้นๆครับ เหมือนผู้ชมเป็นคนสังเกตฉากนั้นๆ
– มุมแทนสายตา
– มุมพ้อยออฟวิว มุมนี้แนะนำให้ใช้เยอะๆครับ สวยมากมุมนี้ในการทำหนัง เป็นมุมที่ใกล้ชิดเหตุการณ์ครับ เช่น การถ่ายข้ามไหล่ของตัวละคร หรือวัตถุ ครับ

ขั้นที่7   การเคลื่อนไหวของกล้อง
– การแพน การทิลท์ ประมาณว่า การทำเคลื่อนไหวกล้องให้เห็นตำแหน่งวัตถุนั้นสัมพันกันครับ
– การดอลลี่ การติดตามการเคลื่อนไหวเลยครับ
– การซูม เป็นการเปลี่ยนองค์ประกอบภาพครับ เหมือนเน้นความสนใจในจุดๆหนึ่ง
ขั้นที่8   เทคนิคการถ่าย
เอาเป็นว่าจับกล้องให้มั่นนะครับ อย่างผมก็จะจับ แบบกระชับกับตัวเลย คือแขนทั้งสองข้างแนบตัวเลยครับ
และก็ไม่แนะนำให้เคลื่อนไหวกล้องแบบรวดเร็วนะครับ กล้องจะปรับโฟกัสไม่ทัน ทำให้ภาพเบลอครับ
ขั้นที่9    หลังการผลิต ก็ต้องตัดต่อ เพิ่มเสียง เอ็ฟเฟก ความคมชัด ความเด่นชัดเรื่อง อักษรหนังสือ
ขั้นที่10   การตัดต่อ
อย่างแรกเลยครับจัดลำดับภาพ และเวลาให้ตรงและเหมาะสม อันไหนเกินยาวก็ให้ตัดทิ้งครับอย่าให้ขัดอารมณ์
อย่างสองคือจัดภาพให้เหมาะสม เนื้อหาและโครงเรื่องที่เราวางไว้ครับ
อย่างสามแก้ไขข้อบกพร่องครับ
อย่างสี่ เพิ่มเทคนิคให้ดูสวยงาม

ความรู้เกี่ยวกับการทำภาพยนตร์สั้น

ขั้นตอนสำหรับการเขียนบทภาพยนตร์

1. การค้นคว้าหาข้อมูล (research)
เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับแรกที่ต้องทำถือเป็นสิ่งสำคัญหลังจากเราพบประเด็นของเรื่องแล้ว จึงลงมือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น  คุณภาพของภาพยนตร์จะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าภาพยนตร์นั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม
2. การกำหนดประโยคหลักสำคัญ (premise)
หมายถึงความคิดหรือแนวความคิดที่ง่าย ๆ ธรรมดา ส่วนใหญ่มักใช้ตั้งคำถามว่า “เกิดอะไรขึ้นถ้า…” (what if) ตัวอย่างของ premise ตามรูปแบบหนังฮอลลีวู้ด เช่น เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ &จูเลียตเกิดขึ้นในนิวยอร์ค คือ เรื่อง West Side Story, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ดาวอังคารบุกโลก คือเรื่อง The Invasion of Mars, เกิดอะไรขึ้นถ้าก็อตซิล่าบุกนิวยอร์ค คือเรื่อง Godzilla, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ต่างดาวบุกโลก คือเรื่อง The Independence Day, เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ &จูเลียตเกิดขึ้นบนเรือไททานิค คือเรื่อง Titanic เป็นต้น
3. การเขียนเรื่องย่อ (synopsis)
คือเรื่องย่อขนาดสั้น ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็น story outline เป็นร่างหลังจากที่เราค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย (treatment)
4. การเขียนโครงเรื่องขยาย (treatment)
เป็นการเขียนคำอธิบายของโครงเรื่อง (plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ บางครั้งอาจใช้สำหรับยื่นของบประมาณได้ด้วย และการเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสำคัญ (premise)  ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ
 5. บทภาพยนตร์ (screenplay)
สำหรับภาพยนตร์บันเทิง หมายถึง บท (script) ซีเควนส์หลัก (master scene/sequence)หรือ ซีนาริโอ (scenario) คือ บทภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง บทพูด แต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าบทถ่ายทำ (shooting script) เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมีขั้นตอน ประกอบ ด้วยตัวละครหลักบทพูด ฉาก แอ็คชั่น ซีเควนส์ มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง เช่น บทสนทนาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษฉาก เวลา สถานที่ อยู่ชิดขอบหน้าซ้ายกระดาษ ไม่มีตัวเลขกำกับช็อต และโดยหลักทั่วไปบทภาพยนตร์หนึ่งหน้ามีความยาวหนึ่งนาที
6. บทถ่ายทำ (shooting script)
คือบทภาพยนตร์ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน บทถ่ายทำจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทภาพยนตร์ (screenplay) ได้แก่ ตำแหน่งกล้อง การเชื่อมช็อต เช่น คัท (cut) การเลือนภาพ (fade) การละลายภาพ หรือการจางซ้อนภาพ (dissolve) การกวาดภาพ (wipe) ตลอดจนการใช้ภาพพิเศษ (effect) อื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเลขลำดับช็อตกำกับเรียงตามลำดับตั้งแต่ช็อตแรกจนกระทั่งจบเรื่อง
7. บทภาพ (storyboard)
คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของ
ช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพประกอบ เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งบริษัทของ Walt Disney นำมาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัทเป็นครั้งแรก โดยเขียนภาพ      เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียงประกอบด้วย

เทคนิควิธีการสร้างหนังสั้นแต่ง่าย ๆ

        ขั้นแรก หาองค์ประกอบด้านวิธีการ คือ หลักการ การวางแผน การถ่ายทำ การตัดต่อ การประเมินผล
        
        ขึ้นสอง หาองค์ประกอบด้านบุคลากร คือ บุคลากรในหน้าที่ต่างๆตั้งแต่ ตัวละคร บุคคลทางเทคนิค รวมไปถึง ผู้มีความสารถเฉพาะครับ จะดีมากๆ และอีกอย่างคือทีมเวิคครับ
       
        ขั้นสาม เตรียมการผลิต คือ วางแผน เตรียมสถานที่ บท อุปกรณ์ ให้ครบ
        
        ขั้นสี่  บทหนัง คือ วางบท คำพูด ระยะเวลาสถานที่ เรื่องราว ที่จะสื่อออกมา
                เรื่องบทจะมี หลายแบบ
                           - บทแบบสมบูรณ์  ประมาณว่า เก็บทุกรายละเอียดทุกคำพูดอ่ะครับ
                           - บทแบบอย่างย่อ ประมาณว่า เปิดกว้างๆให้ผู้ชมสังเกตในความเข้าใจของตนเอง
                           - บทแบบเฉพาะ   (ไม่จำเป็นหรอก)
                           - บทแบบร่างกำหนด (ไม่จำเป็นอีกแหละ)
        ขั้นห้า การผลิต อย่างแรกเลย แต่ละฉากคุณต้องเลือกมุมกล้องให้เหมาะสม กับสภาพอากาศ ขนาดวัตถุ ว่าควรเห็นแค่ไหน  ขนาดมุมกล้องมีหลายแบบนะเยอะมาก ผมพูดรวมๆละกัน มีแบบ ระยะไกลมาก ระยะไกล ระยะปานกลาง ระยะใกล้  (รายละเอียดท่าสนใจเข้ามาคุยนะครับ)
 
        ขั้นหก ค้นหามุมกล้อง
                  - มุมคนดู ประมาณว่า เป็นมุมถ่ายจากรอบนอกของฉากนั้นๆอ่ะครับ เหมือนผู้ชมเป็นคนสังเกตฉากนั้นๆ
                  - มุมแทนสายตา ไม่ต้องอธิบายมั้ง
                  - มุมพ้อยออฟวิว มุมนี้แนะนำให้ใช้เยอะๆครับ สวยมากมุมนี้ในการทำหนัง เป็นมุมที่ใกล้ชิดเหตุการณ์ครับ เช่น การถ่ายข้ามไหล่ของตัวละคร หรือวัตถุ ครับ
        ขั้นเจ็ด การเคลื่อนไหวของกล้อง (พูดรวมๆนะถ้าจะเอาละเอียดเข้ามาคุยกัน)
                  - การแพน การทิลท์ ประมาณว่า การทำเคลื่อนไหวกล้องให้เห็นตำแหน่งวัตถนั้นสัมพันกันครับ
                  - การดอลลี่ การติดตามการเคลื่อนไหวเลยครับ
                  - การซูม เป็นการเปลียนองค์ประกอบภาพครับ เหมือนเน้ความสนใจในจุดๆหนึ่ง

        ขั้นแปด เทคนิคการถ่าย (เออผมจะอธิบายไงดีเนี้ยมันเยอะมากอ่ะครับ)
                     เอาเป็นว่าจับกล้องให้มั่นอ่ะครับ อย่างผมก็จะจับ แบบกระชับกับตัวเลย คือแขนทั้งสองข้างแนบตัวเลยครับ และก็ไม่แนะนำให้เคลื่อนไหวกล้องแบบรวดเร็วนะครับ กล้องจะปรับโฟกัสไม่ทัน ทำให้ภาพเบลอครับ
ถ้าอยากทราบเทคนิคการถ่ายแบบละเอียดก็ เข้ามาถามละกันนะครับ ผมต้องใช้ประสปการณ์ตรงอธิบายอ่ะ
        ขั้นเก้า หลังการผลิต ก็ต้องตัดต่อ เพิ่มเสียง เอฟเฟค ความคมชัด ความเด่นชัดเรื่อง อักษรหนังสือ
        ขั้นสิบ การตัดต่อ (เยอะมากครับอธิบายรวมๆละกัน)
               อย่างแรกเลยครับจัดลำดับภาพ และเวลาให้ตรงและเหมาะสม อันไหนเกินยาวก็ให้ตัดทิ้งครับอย่าให้ขัดอารณ์
               อย่างสองคือจัดภาพให้เหมาะสม เนื้อหาและโครงเรื่องที่เราวางไว้ครับ
               อย่างสามแก้ไขข้อบกพร่องครับ
               อย่างสี่ เพิ่มทคนิคให้ดูสวยงาม(เดียวจะอธิบาย)
               อย่างห้า เรื่องเสียง(เดียวจะอธิบาย)
        เอาละครับขั้นการตัดต่อและมาดูละกันการตัดต่อเชื่อมฉากมีอะไรบ้าง
              - การตัด cut
              - การเฟด fade
              - การทำภาพจางซ้อน
              - การกวาดภาพ
              - ซ้อนภาพ
              - ภาพมองทาจ
        โปรแกรมที่จะนำมาใช้ ผมแนะนำดังต่อไปนี้นะครับ
        1. movie maker (Xp ก็มีมาให้แล้ว) ตัดต่อเบื้องต้นครับ ตัวเชื่อมเฟรมค่อนข้างน้อย ไม่แนะนำนะครับ
        2. Sony vegas 7.0 ค่อยดีขึ้นมาหน่อย การทำงานค่อนข้างละเอียดครับ มีลุกเล่นเยอะมากมาย(แนะนำสำหรับมือใหม่ครับ)
        3. adobe premiere pro 2.0 มีการตัดต่อค่อนข้างละเอียดอ่อนมากๆครับใช้งานยากแต่ ถ้าใช้เป็นสามารถสร้างหนังได้ใหญ่ๆเรื่องนึงเลยนะครับ แต่การใช้งานยุ่งยากไม่เหมาะกับมือใหม่ (ถ้าอยากใช้ก็หาเอาแล้วกันนะครับ)
 
เทคนิคการถ่ายวิดีโอ
   ส่นใหญ่แล้วช่างภาพวีดีโอมือสมัครเล่นทั่วไป จะชอบถือกล้องในแบบที่ถนัดที่สุด แบบที่สบายที่สุด และแบบที่ถือแล้วไม่เมื่อย แต่มุมมองที่ออกมา ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แถมภาพสั่นยังกะอยู่ในคลื่นกลางทะเล วิธีที่จะทำให้วีดีโอนั้นไม่สั่นก็ต้องใช้ขาตั้งกล้องนะครับ ขาตั้งกล้องช่วยได้มากทีเดียว และต้องเป็นหัวแพนด้วย ถ้าเป็นหัวบอล ใช้สำหรับกล้องถ่ายภาพนิ่งนะครับ แต่ถ้าเกิดว่าเราไปเที่ยว ถือแค่กล้อไปตัวเดียว ไม่อยากเอาขาตั้งกล้องไปด้วย มันใหญ่และเกะกะมาก ผมมีเทคนิคเล็กๆน้อยๆครับ ที่จะทำให้ได้มุมมองที่สวย และจับถือได้นิ่งมากๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้องเลย ขั้นตอนแรกนะครับ ให้ท่านจับกล้องด้วย 2 มือ กุมกล้องไว้ในมือทั้ง 2 จากนั้นยืดแขนออกไปให้สุด เพื่อฟิตกล้ามเนื้อก่อน ซัก 3-5 รอบ แล้วก็เอากล้องมาชิดที่หน้าท้อง ติดหน้าท้องเลยนะครับ ดันให้แน่นๆ เสยมุมกล้องขึ้นบนนิดหน่อยพอสวยงาม จากนั้นก็บิดจอ LCD ขึ้นมาเล็กน้อยเพื่อให้มองเห็นจอภาพถนัดๆ จากนั้นก็กด Record ได้เลย ในระหว่างที่ถ่ายอยู่ ต้องใช้มือทั้ง 2 ที่กุมกล้องอยู่ ดันกล้องให้ติดหน้าท้องนะครับ รับรองได้ว่า วีดีโอที่ออกมา สวยและนิ่งใช้ได้เลยครับ แต่ถ่ายไปนานๆ จะรู้สึกเมื่อยนะครับ เพราะต้องกดกล้องเข้าหาหน้าท้องตัวเองอยู่ตลอดเวลา หากถ่ายนานๆใช้ขาตั้งหรือโต๊ะ หรือหาอะไรที่มันพอจะวางกล้องได้มันจะดีกว่านะครับ ลองเอาเทคนิคนี้ไปประยุกต์ใช้กันดู หวังว่าคงจะมีประโยชน์สำหรับสมาชิกทุกท่านครับ
การเขียนบทภาพยนตร์จากหนังสั้น
การเขียนบทอาจเป็นเรื่องที่นำมาจากเรื่องจริง เรื่องดัดแปลง ข่าว เรื่องที่อยู่รอบ ๆ ตัว  นวนิยาย   เรื่องสั้น หรือได้แรงบันดาลใจจากความประทับใจในเรื่องราวหรือบางสิ่งที่คนเขียนบทได้สัมผัส เช่น ดนตรี บทเพลง บทกวี ภาพเขียน และอื่น ๆ หรืออะไรที่ทำให้เกิดความคิด จินตนาการ การสร้างสรรค์ คือการนำเรื่องราวมาประสมประสานกันให้เป็นเรื่องขึ้นมา ความพยายามเท่านั้นทำให้เกิดความสำเร็จ  ขอให้ศึกษาในบทภาพยนตร์ต่อไป
ประวัติหนังสั้น
หนังสั้นโดยเปรียบเทียบกับเรื่องสั้นในความหมายของหนังสั้นที่ยึดถือตามธรรมเนียมปฏิบัติคือ หนังที่มีความยาวไม่เกิน 30 นาที มีรูปเเบบหรือสไตล์หลากหลาย ทั้งที่ใช้การเเสดงสด(Live action film)หรือ แอมนิเมชั่น(animited film) ก็ได้
        การกำหนดความยาวของหนังสั้นด้วยเวลาที่เเน่นอน เพราะเนื่องจากหนังที่มีความยาวเกิน 30 นาที จะมีรูปเเบบของการเข้าถึงตัวละครเเละโครงเรื่องต่างจากหนังสั้นที่มีความยาวไม่เกิน 30 นาที หนังที่มีความยาวตั้งเเต่ 30-60 นาที จะมีโครงเรื่องที่ซับซ้อนมากกว่าการกำหนดอารมณ์ของคนดูว่าตอนไหนควรเร่งรีบ ตอนไหนควรทิ้งหรือถ่วงเวลาเพื่อให้คนดูสนุกสนาน ส่วนหนังสั้นมีเวลาจำกัดไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์หรือเล่นอารมณ์กับคนดูได้มากนักจึงต้องเข้าถึงตัวละครอย่างรวดเร็ว เเละทำโครงเรื่องให้ง่ายไม่ซับซ้อนเพื่อให้คนดูเข้าใจเรื่องได้ในเวลาที่จำกัด
พัฒนาการของหนังสั้น
 ปัจจุบันหนังสั้นมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาให้กลายเป็นหนังบันเทิงเรื่องยาว หนังเรื่องเเรกเท่าที่มีการค้นพบ เป็นหนังสั้นของ Edison มีความยาวประมาณ 50 ฟุต เป็นเเอ็คชั่นของการจามเรื่อง Fred Ott’s Sneeze (1894) ถ่ายด้วยกล้อง Kinetograph การสร้างหนังในช่วงเเรก เป็นหนังสั้นทุกเรื่อง เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
           ภาพยนตร์ในสมัยนั้นได้รับความสนใจมาก เเละเป็นธุรกิจที่ทำรายได้ดีทำให้บริษัทของ Edison เเละบริษัทอื่นๆรวมทั้งบริษัท Mutoscope เเละ Biograph เริ่มต้นที่จะรวมตัวกันผูกขาดกิจการค้า โรงหนัง Pittsburgh ในปี 1905 ซึ่งโรงหนังนี้ทำให้มีคนดูหนังมากขึ้น ธุรกิจหนังสั้นในยุคนั้นจึงเฟื่องฟูขึ้น ในปี 1908 อิตาลีสร้างหนังประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่มีความยาว 5 ม้วน D.W. Griffith ได้รับอิทธิพล การสร้างหนังที่มีความยาวขึ้น ซึ่งเเต่เดิมการสร้างภาพยนตร์เรื่องยาว เขามีความพยายามสร้างอยู่เเล้วโดยสร้างให้ยาวมากขึ้นเรื่อยๆจาก 1 ม้วนเป็น 2 ม้วน เช่นเรื่อง Enoch Arden (1991) เเม้จะไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก เเละถูกคัดค้านไม่เห็นด้วยจากผู้อำนวยการสร้าง เเต่ในที่สุดเมื่อเขาชมภาพยนตร์ที่มีความยาวของอิตาลี จึงเป็นเเรงให้เขามีเเรงบันดาลใจในการสร้างหนังยาวถึง 4 ม้วน ในเรื่อง Judith  of Bethulia (1914) ซึ่งเป็นหนังที่มีความยาวมากครั้งเเรกของประวัติศาสตร์การสร้างหนังของ Hollywood เป็นเรื่องสำคัญเรื่องสุดท้ายก่อนที่จะเริ่มสร้างหนังบันเทิงเรื่องยาว คือ The Birth of a Natoin (1915) อันเป็นจุดเริ่มต้นบรรทัดฐานการสร้างหนังบันเทิงที่มีความยาวในปัจจุบัน เเม้ว่าหนังบันเทิงที่มีความยาวมากขึ้นจะได้รับความนิยม เเต่หนังสั้นก็ยังคงผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง มีผู้กำกับหนุ่ม Mack Scnnett ที่ไม่สามารถผลิตหนังตลกให้กับบริษัทของ Edison หรือ Biograph ได้อีกต่อไปจึงออกมาสร้างบริษัทสร้างภาพยนตร์อิสระของตนเอง ชื่อบริษัท Keystone Picture ผลิตหนังสั้นตลก ต่อมาในปี 1913 นักเเสดงชาวอังกฤษ Charlie Chapplin ได้ร่วมกับบริษัทของ Sennett สร้างหนังสั้นตลกยิ่งใหญ่ออกมาอีกหลายเรื่อง เช่น The Tramp (1915) , One A.M. (1916), Easy Street (1917), เเละ A dog’s Life (1918) หนังสั้นตลกของเขามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการวิพากษ์สังคมโดยผ่านตัวละครโง่เขลา จนในที่สุดกลายมาเป็นเเบบอย่างให้กับนักเเสดงตลกที่มีชื่อเสียงอื่นๆ ตามมา เช่น Buster Keaton เเละ Laurel and Hardy
ความหมายของหนังสั้น
หนังสั้น คือ หนังยาวที่สั้น ก็คือการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงที่มีประเด็นเดียวสั้นๆ แต่ได้ใจความ
ศิลปะการเล่าเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นนิทาน นิยาย ละคร หรือภาพยนตร์ ล้วนแล้วแต่มีรากฐานแบบเดียวกัน นั่นคือ การเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นของมนุษย์หรือสัตว์ หรือแม้แต่อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นช่วงเวลาหนึ่งเวลาใด ณ สถานที่ใดที่หนึ่งเสมอ ฉะนั้น องค์ประกอบที่สำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ตัวละคร สถานที่ และเวลา
       สิ่งที่สำคัญในการเขียนบทหนังสั้นก็คือ การเริ่มค้นหาวัตถุดิบหรือแรงบันดาลใจให้ได้ ว่าเราอยากจะพูด จะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับอะไร ตัวเราเองมีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อย่างไร ซึ่งแรงบันดาลใจในการเขียนบทที่เราสามารถนำมาใช้ได้ก็คือ ตัวละคร แนวความคิด และเหตุการณ์ และควรจะมองหาวัตถุดิบในการสร้างเรื่องให้แคบอยู่ในสิ่งที่เรารู้สึก รู้จริง เพราะคนทำหนังสั้นส่วนใหญ่ มักจะทำเรื่องที่ไกลตัวหรือไม่ก็ไกลเกินไปจนทำให้เราไม่สามารถจำกัดขอบเขตได้ เมื่อเราได้เรื่องที่จะเขียนแล้วเราก็ต้องนำเรื่องราวที่ได้มาเขียน Plot (โครงเรื่อง) ว่าใคร ทำอะไร กับใคร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร เพราะอะไร และได้ผลลัพธ์อย่างไร ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ข้อมูล หรือวัตถุดิบที่เรามีอยู่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนว่ามีแนวคิดมุมมองต่อชีวิตคนอย่างไร เพราะความเข้าใจในมนุษย์ ยิ่งเราเข้าใจมากเท่าไร เราก็ยิ่งทำหนังได้ลึกมากขึ้นเท่านั้น
และเมื่อเราได้เรื่อง ได้โครงเรื่องมาเรียบร้อยแล้ว เราก็นำมาเป็นรายละเอียดของฉาก ว่ามีกี่ฉากในแต่ละฉากมีรายละเอียดอะไรบ้าง เช่นมีใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ไปเรื่อย ๆ จนจบเรื่อง ซึ่งความจริงแล้วขั้นตอนการเขียนบทไม่ได้มีอะไรยุ่งยากมากมาย เพราะมีการกำหนดเป็นแบบแผนไว้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ยาก มาก ๆ ก็คือกระบวนการคิด ว่าคิดอย่างไรให้ลึกซึ้ง คิดอย่างไรให้สมเหตุสมผล ซึ่งวิธีคิดเหล่านี้ไม่มีใครสอนกันได้ทุกคน ต้องค้นหาวิธีลองผิดลองถูก จนกระทั่ง ค้นพบวิธีคิดของตัวเอง การเตรียมการและการเขียนบทภาพยนตร์ การเขียนบทภาพยนตร์เริ่มต้นที่ไหน เป็นคำถามที่มักจะได้ยินเสมอสำหรับผู้ที่เริ่มหัดเขียนบทภาพยนตร์ใหม่ ๆ เช่น ควรเริ่มช็อตแรก เห็นยานอวกาศลำใหญ่แล่นเข้ามาขอบเฟรมบนแล้วเลยไปสู่แกแล็กซี่เบื้องหน้าเพื่อให้เห็นความยิ่งใหญ่ของจักรวาล หรือเริ่มต้นด้วยรถที่ขับไล่ล่ากันกลางเมืองเพื่อสร้างความตื่นเต้นดี หรือเริ่มต้นด้วยความเงียบมีเสียงหัวใจเต้นตึกตัก ๆ ดี หรือเริ่มต้นด้วยความฝันหรือเริ่มต้นที่ตัวละครหรือเหตุการณ์ดี เหล่านี้เป็นต้น บางคนบอกว่ามีโครงเรื่องดี ๆ แต่ไม่ทราบว่าจะเริ่มอย่างไรการเริ่มต้นเขียนบทภาพยนตร์ เราต้องมีเป้าหมายหลักหรือเนื้อหาเป็นจุดเริ่มต้นการเขียน เราเรียกว่าประเด็น (Subject) ของเรื่อง ที่ต้องชัดเจนแน่นอน มีตัวละคร และแอ็คชั่น ดังนั้น นักเขียนควรเริ่มต้นจากจุดนี้พร้อมด้วยโครงสร้าง (Structure) ของบทภาพยนตร์ประเด็นอาจเป็นสิ่งที่ง่าย ๆ เช่น มนุษย์ต่างดาวเข้ามาเยือนโลกแล้วพลัดพลาดจากยานอวกาศของตน ไม่สามารถกลับดวงดาวของตัวเองได้ จนกระทั่งมีเด็ก ๆ ไปพบเข้าจึงกลายเป็นเพื่อนรักกัน และช่วยพาหลบหนีจากอันตรายกลับไปยังยานของตนได้ นี่คือเรื่อง E.T. – The Extra-Terrestrial (1982) หรือประเด็นเป็นเรื่องของนักมวยแชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวทที่สูญเสียตำแหน่งและต้องการเอากลับคืนมา คือเรื่อง Rocky III หรือนักโบราณคดีค้นพบโบราณวัตถุสำคัญที่หายไปหลายศตวรรษ คือเรื่อง Raider of the Lost Ark (1981) เป็นต้นการคิดประเด็นของเรื่องในบทภาพยนตร์ของเราว่าคืออะไร ให้กรองแนวความคิดจนเหลือจุดที่สำคัญมุ่งไปที่ตัวละคร และแอ็คชั่น แล้วเขียนให้ได้สัก 2-3 ประโยค ไม่ควรมากกว่านี้ และที่สำคัญไม่ควรกังวลในจุดนี้ว่าจะต้องทำให้บทภาพยนตร์ของเราถูกต้องในแง่ของเรื่องราว แต่ควรให้มันพัฒนาไปตามแนวทางของขั้นตอนการเขียนจะดีกว่าสิ่งแรกที่เราควรฝึกเขียนคือต้องบอกให้ได้ว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เช่น เรื่องเกี่ยวกับความดีและความชั่วร้าย หรือเกี่ยวกับความรักของหนุ่มชาวกรุงกับหญิงบ้านนอก ความพยาบาทของปีศาจสาวที่ถูกฆาตกรรม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ความคิดที่ยังขาดแง่มุมของการเขียนว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป จึงต้องชัดเจนมากกว่านี้ โดยเริ่มที่ตัวละครหลักและแอ็คชั่น ดังนั้นประเด็นของเรื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญของจุดเริ่มต้นการเขียนบทภาพยนตร์อย่างไรก็ตาม การเขียนบทภาพยนตร์สำหรับนักเขียนหน้าใหม่ ควรค้นหาสิ่งที่น่าสนใจจากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวของนักเขียนเอง เขียงเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้ ทำให้ได้รายละเอียดในเชิงลึกของเนื้อหา เกิดความจริง สร้างความตื่นตะลึงได้ เช่นเรื่องในครอบครัว เรื่องของเพื่อนบ้าน เรื่องในที่ทำงาน ของตนเอง เรื่องในหนังสือพิมพ์รายวัน เป็นต้น
ขั้นตอนสำหรับการเขียนภาพยนตร์

1. การค้นคว้าหาข้อมูล (research) เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับแรกที่ต้องทำถือเป็นสิ่งสำคัญหลังจากเราพบประเด็นของเรื่องแล้ว จึงลงมือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น คุณภาพของภาพยนตร์จะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าภาพยนตร์นั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม
2. การกำหนดประโยคหลักสำคัญ (premise) หมายถึงความคิดหรือแนวความคิดที่ง่าย ๆ ธรรมดา ส่วนใหญ่มักใช้ตั้งคำถามว่า “เกิดอะไรขึ้นถ้า…” (what if) ตัวอย่างของ premise ตามรูปแบบหนังฮอลลีวู้ด เช่น เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นในนิวยอร์ค คือ เรื่อง West Side Story, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ดาวอังคารบุกโลก คือเรื่อง The Invasion of Mars, เกิดอะไรขึ้นถ้าก็อตซิล่าบุกนิวยอร์ค คือเรื่อง Godzilla, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ต่างดาวบุกโลก คือเรื่อง The Independence Day, เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นบนเรือไททานิค คือเรื่อง Titanic เป็นต้น
3.การเขียนเรื่องย่อ (synopsis) คือเรื่องย่อขนาดสั้น ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็น story outline เป็นร่างหลังจากที่เราค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย (treatment)
4. การเขียนโครงเรื่องขยาย (treatment) เป็นการเขียนคำอธิบายของโครงเรื่อง (plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ บางครั้งอาจใช้สำหรับยื่นของบประมาณได้ด้วย และการเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสำคัญ (premise) ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ
5. บทภาพยนตร์ (screenplay) สำหรับภาพยนตร์บันเทิง หมายถึง บท (script) ซีเควนส์หลัก (master scene/sequence)หรือ ซีนาริโอ (scenario) คือ บทภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง บทพูด แต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าบทถ่ายทำ (shooting script) เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมีขั้นตอน ประกอบ ด้วยตัวละครหลักบทพูด ฉาก แอ็คชั่น ซีเควนส์ มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง เช่น บทสนทนาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษฉาก เวลา สถานที่ อยู่ชิดขอบหน้าซ้ายกระดาษ ไม่มีตัวเลขกำกับช็อต และโดยหลักทั่วไปบทภาพยนตร์หนึ่งหน้ามีความยาวหนึ่งนาที
6. บทถ่ายทำ (shooting script) คือบทภาพยนตร์ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน บทถ่ายทำจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทภาพยนตร์ (screenplay) ได้แก่ ตำแหน่งกล้อง การเชื่อมช็อต เช่น คัท (cut) การเลือนภาพ (fade) การละลายภาพ หรือการจางซ้อนภาพ (dissolve) การกวาดภาพ (wipe) ตลอดจนการใช้ภาพพิเศษ (effect) อื่น ๆ เป็นต้น
         นอกจากนี้ยังมีเลขลำดับช็อตกำกับเรียงตามลำดับตั้งแต่ช็อตแรกจนกระทั่งจบเรื่อง บทภาพ (storyboard) คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพประกอบ เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งบริษัทของ Walt Disney นำมาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัทเป็นครั้งแรก โดยเขียนภาพ เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียงประกอบด้วย การเขียนบทภาพยนตร์จากเรื่องสั้นการเขียนบทอาจเป็นเรื่องที่นำมาจากเรื่องจริง เรื่องดัดแปลง ข่าว เรื่องที่อยู่รอบๆ ตัว นวนิยาย เรื่องสั้น หรือได้แรงบันดาลใจจากความประทับใจในเรื่องราวหรือบางสิ่งที่คนเขียนบทได้สัมผัส เช่น ดนตรี บทเพลง บทกวี ภาพเขียน และอื่น ๆ

ปัจจัยสำคัญของภาพยนตร์สั้น

1. ความยาว (Lenght)
ภาพยนตร์สั้นมักมีความยาวตั้งแต่ 1 – 30 นาที ขึ้นอยู่กับความพอดีและลงตัว ความพอดี หรือความลงตัว อยู่ที่หนังสามารถตอบสนองเรื่องราวได้อย่างน่าพอใจหรือยัง ความยาวจึงขึ้นอยู่กับผู้กำกับที่จะตัดสินใจว่า การเล่าเรื่องเกินพอดี หรือขาดความพอดีหรือไม่ ซึ่งการขาดความพอดี หรือการเกินความพอดี จะส่งผลให้หนังอืดอาดยืดยาด หรือหนังเร็วจนเรื่องขาดหายไปทำให้ดูไม่รู้เรื่องสำหรับหนังของมือใหม่มักมีข้อบกพร่อง คือ กังวลว่าคนดูจะไม่รู้เรื่อง จึงมักพูดมาก จนน่าเบื่อ หรือความอ่อนประสบการณ์ทำให้ไม่สามารถแตกช็อตให้คนดูเข้าใจเรื่องได้จึงกลายเป็นหนังที่ห้วนและดูไม่รู้เรื่อง
2. แก่นเรื่อง (Theme)
แก่นเรื่อง คือ สาระหรือจุดเป้าหมายที่เรากำลังพยายามเข้าถึงแก่นเรื่อง คือ ความคิดลึกซึ้งที่เป็นนามธรรม หรือ ความคิดที่ยึดโครงสร้างของเรื่อง และนำเสนอผ่านตัวละคร เป็นแอ๊กชั่นของการแสดงทั้งหมด แก่นเรื่องเป็นศูนย์กลางความคิดหลักที่เกี่ยวกับเรื่องทั้งหมดที่ผู้กำกับต้องการสื่อสารกับคนดู สำคัญมากหนังสั้นควรมีความคิดหลักประการเดียว มิฉะนั้นจะทำให้เรื่องซับซ้อนต้องใช้วิธีเล่าเรื่องแบบหนังที่มีความยาวทั่วไป ความคิดหลักไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับคนดูเสมอไป แต่ให้คนดูมีโอกาสไตร่ตรองสำรวจความคิดของตนเองเป็นการจุดจินตนาการและทำให้เกิดความคิดทางสติปัญญาขึ้น
3. ความขัดแย้ง (Conflict)
เป็นการกำหนดความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่งให้กับตัวละครหรือเป็นเป้าหมายที่ตัวละครต้องการจะไปให้ถึงแล้วเรา (ผู้เขียนบท) จะสร้างอุปสรรคให้ตัวละครแก้ปัญหา หรือสร้างวิธีการต่าง ๆ
นานาให้ตัวละครไปสู่เป้าหมายอย่างยากเย็น การสร้างความขัดแย้ง ผู้เขียนบทต้องเริ่มวางประเด็นของเรื่องไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะลงมือเขียนบทเป็นประโยคสำคัญ ความขัดแย้งมีหลายประเภท คือ
– ความขัดแย้งภายในจิตใจของตนเอง
– ความขัดแย้งระหว่างบุคคล
– ความขัดแย้งระหว่างคนกับสังคม
– ความขัดแย้งระหว่างคนกับธรรมชาติ
4. เหตุการณ์เดียว (One Primary Event)
เหตุการณ์หลักในหนังสั้น ควรมีเพียงเหตุการณ์เดียว ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
อาจจะกินระยะเวลาในหนังหลายวันหรือหลายอาทิตย์ก็ได้ ที่เป็นเช่นนี้ทำให้เนื้อเรื่องดูง่าย ไม่ซับซ้อน
มีความยาวไม่มากนักใช้เหตุการณ์หลักที่เกิดขึ้นเพียงเหตุการณ์เดียวในการเล่าเรื่องเพื่อให้เหมาะสมกับเวลา
5. ตัวละครเดียว (One Major Character)
ตัวละครในภาพยนตร์ คือ การแสดงของคนที่มีบุคลิกลักษณะตามที่เราเลือกไว้
เพื่อวัตถุประสงค์สำหรับการแสดงตัวละคร คือ มุมมอง หรือวิธีมองโลก (ซึ่งสามารถหมายถึง วิสัยทัศน์)
หรือวิธีที่ตัวละครมองโลกในแง่มุมต่างๆ หนังสั้นจะใช้ตัวละครหลักเพียงตัวเดียว และผู้เขียนจำเป็นต้องสร้างให้ตัวละครให้มีความน่าสนใจ และใช้ตัวละครหลักไปสัมพันธ์กับตัวละครอื่น หรือปัญหาอื่นแล้วเปิดเผยให้คนดูเห็นบางสิ่งบางอย่างที่น่าตกใจ
6. ความต้องการ (Need & Want)
ความต้องการของตัวละคร คือ สิ่งที่ตัวละครอยากได้ อยากมี อยากเป็น ต้องการให้ได้มาต้องการบรรลุในสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระหว่างเนื้อหาของเรื่องราวผู้เขียนต้องกำหนดความต้องการของตัวละครก่อนเขียนบท โดยกำหนดว่าอะไร ? คือความต้องการของตัวละคร ความต้องการนี้จะเป็นตัวผลักดันตัวละคร ให้เกิดการกระทำจากนั้นผู้เขียนต้องสร้างอุปสรรคขัดขวางความต้องการนั้นสำคัญมาก ความต้องการจะช่วยให้โครงเรื่องพัฒนาไปอย่างมีทิศทางในหนังสั้นความต้องการของตัวละครหลักมักมีหลายระดับ
7. โครงสร้างของบท (Structure)
โครงสร้าง คือ ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยกับทั้งหมด ส่วนย่อยคือ แอ๊กชั่น , ตัวละคร , ฉาก , ตอน , องก์ (1,2,3) , เหตุการณ์ , สถานการณ์ , ดนตรี สถานที่ ฯลฯ ส่วนย่อยทั้งหมดล้วนสร้างขึ้นเพื่อหลอมรวมเป็นเรื่องแล้วโครงสร้างจะเป็นตัวยึดทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกันเป็นภาพรวมทั้งหมด
          8. ปูมหลัง (Backstory)
ปูมหลังของเรื่อง คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้าเรื่องในภาพยนตร์จะเกิดเหตุการณ์ในอดีตจะส่งผลตรงกับอารมณ์ของตัวละครหลักปูมหลังของเรื่องมีความสัมพันธ์กับความต้องการของตัวละคร คนเขียนบทต้องกำหนดล่วงหน้าก่อนลงมือเขียนบท แต่ปูมหลังไม่จำเป็นต้องปรากฏอยู่ในบท